โรคมะเร็งไม่เลือกวัยอายุเท่าไรก็เสี่ยง

        โรคมะเร็ง หลายคนอาจคิดว่าเสี่ยงเป็นได้เฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอย และเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆได้ง่าย แต่ความจริงแล้วโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย เพราะส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตที่ไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกิน การออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพ ส่งผลให้กว่าจะรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง ก็อาจจะลุกลามไปยังระยะที่ 3 หรือ 4 แล้ว เพราะคนส่วนใหญ่มักจะรอให้มีอาการก่อนถึงจะมาตรวจคัดกรอง ซึ่งหากเป็นแบบนั้นก็อาจทำให้ยากต่อการรักษาให้หายขาดได้



โรคมะเร็งเกิดจากอะไร ทำไมต้องระวัง ?

        โรคมะเร็ง เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทำให้เกิดก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนอื่น ของร่างกาย เช่น ปอด ตับ ลำไส้ เต้านม และต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น ซึ่งโรคมะเร็งจะมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เป็นจุดกำเนิดของโรค และชนิดของเซลล์มะเร็ง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในแต่ละวันร่วมด้วย เช่น

    • พฤติกรรมการกินเนื้อสัตว์ประเภทปิ้งย่าง อาหารทอด อาหารไขมันสูง หรือรับประทานอาหารแปรรูปต่างๆ
    • การสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
    • ความเครียด
    • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
    • ภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และขาดการออกกำลังกาย
    • การสัมผัสสารพิษในสิ่งแวดล้อม
    • ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ
    • ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน

แล้วจะรู้ได้ไงว่าเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

        เพราะร่างกายของเราเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน จึงต้องหมั่นสังเกตุร่างกายอยู่เสมอ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกาย ก็จะได้หาแนวทางการป้องกัน หรือการดูแลรักษา ได้อย่างถูกวิธี ก่อนที่โรคมะเร็งจะลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ
อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็ง

    • ระบบขับถ่ายผิดปกติ มีการเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ
    • แผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย โดยเป็นนานมากกว่า 3 สัปดาห์
    • มีเลือดไหลผิดปกติออกมาจากบริเวณช่องต่างๆ ของร่างกาย เช่น หัวนม จมูก ช่องคลอด
    • คลำพบก้อนที่เต้านมหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
    • ท้องอืด กลืนอาหารลำบาก หรือระบบการย่อยผิดปกติ
    • ไฝหรือหูดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติหรือมีเลือดออก
    • มีอาการไอที่ผิดปกติ เช่น ไอเรื้อรัง ไอปนเลือด

โรคมะเร็งมีกี่ระยะ

    • ระยะที่ 1 ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดเล็ก และยังไม่ลุกลาม
    • ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มลุกลามไปยังภายในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ
    • ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เป็นมะเร็ง
    • ระยะที่ 4 เป็นระะยะเซลล์มะเร็งแพร่กระจายออกไปยังอวัยวะอื่น เช่น ช่องท้อง ตับ ลำไส้ และปอด โดยเซลล์มะเร็งจะแบ่งตัว และเติบโตเหนือการควบคุมของร่างกาย รวมถึงสามารถเติบโตลุกลามเข้าไปในอวัยวะใกล้เคียงได้ โดยจะลุกลามเข้าทางกระแสเลือด และต่อมน้ำเหลือง

โรคมะเร็ง ที่พบได้ตั้งแต่วัยทำงาน

1. มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดที่ 16 และ 18 ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่ หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

2. มะเร็งเต้านม เกิดจากเซลล์ภายในเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ โดยที่เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และโตขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นก้อนใหญ่ และสามารถคลำพบได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี หรือรักษาก่อนโรคมะเร็งจะลุกลาม อาจทำให้เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง

3. มะเร็งตับ เกิดจากการกลายพันธุ์ และเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ตับ ส่วนใหญ่มักมีโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของตับมาก่อน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การดื่มสุรา ไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี และการได้รับสารบางชนิด เช่น อะฟลาท็อกชิน ซึ่งมาจากเชื้อราที่ปนอยู่ในอาหารแห้ง ธัญพืช ถั่วเหลือง เเละถั่วลิสง แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง หรือไขมันพอกตับ อาจเกิดมะเร็งตับได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีภาวะตับแข็งนำมาก่อนได้

4. มะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ภายในปอดที่ผิดปกติอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เซลล์ที่เสียหายเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) และพัฒนาเป็นมวลหรือก้อนเนื้อร้ายที่ไปขัดขวางกระบวนการการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ หรือมีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย โดยมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) และมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer)

5. มะเร็งลำไส้ใหญ่ มักจะพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งเกิดจากก้อนเนื้อร้ายในท่อลำไส้ จากติ่งเนื้อเล็กๆ จนเกิดการตีบ ส่งผลให้เกิดผลกระทบกับระบบขับถ่าย ซึ่งสังเกตจากอุจจาระที่มีขนาดเล็กลง หรืออุจจาระเหลวมากผิดปกติ เเละอาจมีมูกเลือดปนออกมาด้วย ผู้ป่วยบางรายมีภาวะซีด เพราะเสียเลือดในขณะถ่ายหนักแบบเรื้อรัง แต่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้


แนวทางการรักษาโรคมะเร็งในแต่ละระยะ

        การรักษาโรคมะเร็ง แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของมะเร็ง และระยะของมะเร็ง เพื่อวางแผนการรักษาให้ตรงจุดเฉพาะบุคคล และให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยในกรณีที่มะเร็งยังไม่มีการลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น และสามารถควบคุมได้ จะรักษาด้วยการผ่าตัดได้ แต่หากมะเร็งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว ก็อาจจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นก่อน เพื่อควบคุม ยับยั้ง และลดจำนวนเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลามไป แล้วค่อยทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง

        เพราะฉะนั้น การตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้เรารู้ถึงปัญหา หรือสาเหตุของโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งเป็นโอกาสในการป้องกัน และการรักษาให้หายได้มากกว่าการตรวจพบเจอในขั้นที่รุนแรงแล้ว


 

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

ตรวจสุขภาพประจำปี ( Annual Check-up )
1,690

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจคลอดเหมาจ่าย (Delivery Package)
0

บาท

ดูรายละเอียด

บทความสุขภาพ

แชร์ทริคเลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่ใช่ สำหรับทุกช่วงวัย
แชร์ทริคเลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่ใช่ สำหรับทุกช่วงวัย

        การตรวจสุขภาพ หลายๆคนอาจเข้าใจว่าต้องตรวจสุขภาพเมื่อมีความเสี่ยง หรือต้องตรวจสุขภาพในช่วงวัยผู้สูงอายุเท่านั้น แต่จริงๆ...
ดูรายละเอียด

ถ้าคุณแม่ ไม่ฝากครรภ์ มีผลเสียต่อลูกจริงมั้ย
ถ้าคุณแม่ ไม่ฝากครรภ์ มีผลเสียต่อลูกจริงมั้ย

การฝากครรภ์ (Antenatal Care) คือ การดูแลสุขภาพครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอด ทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งจะเป็นการดูแลแบบครอบคลุม ทั้งด้า...
ดูรายละเอียด

ดูเเลลูกน้อยอย่างไร ? หลังฉีดวัคซีน
ดูเเลลูกน้อยอย่างไร ? หลังฉีดวัคซีน

หลังฉีดวัคซีนควรพักรอประมาณ 30 นาที เพื่อสังเกตุอาการแพ้แบบรุนแรง (Anaphylaxis)ได้แก่ ปากบวม ผื่น หายใจลำบาก ช็อก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนภายในเวล...
ดูรายละเอียด

ปวดแบบไหนเสี่ยงมะเร็งลำไส้
ปวดแบบไหนเสี่ยงมะเร็งลำไส้

อาการท้องผูก หรือท้องเสียหลายท่านอาจคิดว่าเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป เเต่ทราบหรือไม่ว่าอาการท้องผูกหรือท้...
ดูรายละเอียด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดได้ทุกวัย ทำไมต้องฉีดทุกปี?
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดได้ทุกวัย ทำไมต้องฉีดทุกปี?

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ซึ่งมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ A , B และ C สายพันธุ์ A และ B เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคระบบท...

ดูรายละเอียด
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็ก
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็ก
สาเหตุของการเกิดปอดอักเสบในเด็ก มักเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเราสามารถป้องกันการติดเชื้อบางชนิดได้ โดยการให้วัคซีนป้องกันการเกิดปอดอักเสบ การหายใจและปอดของเด็กแตก...
ดูรายละเอียด
NIPT คืออะไรแล้วทำไมถึงควรตรวจ  ???
NIPT คืออะไรแล้วทำไมถึงควรตรวจ ???

การตรวจ NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing

     คือการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์มารดา มีความแม่นยำสูง โดยกา...
ดูรายละเอียด

วิธีรับมือ...โรคภูมิแพ้
วิธีรับมือ...โรคภูมิแพ้

วิธีรับมือ โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้มีทั้งชนิดที่รักษาให้หายขาดได้ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ กับชนิดที่รักษาให้อาการลดลงได้ แต่ย...
ดูรายละเอียด

ไข้หวัดใหญ่...อันตรายกว่าที่คิด
ไข้หวัดใหญ่...อันตรายกว่าที่คิด

     อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้มีอาการป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่าย และมักเกิดขึ้นบ่อยๆ โรคไข้หวัดใหญ่ก็เ...
ดูรายละเอียด

แผลแค่นี้มีโอกาสเป็นบาดทะยัก ?
แผลแค่นี้มีโอกาสเป็นบาดทะยัก ?

 

 

แค่นี้มีโอกาสเป็นบาดทะยัก?

บาดทะยัก (Tetanus) คือโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย ที่สามารถแพร่ผ่านบาดแผลที่เกิดขึ้นตาม...
ดูรายละเอียด

เมื่อลูกเป็น “โรคภูมิแพ้” พ่อแม่ต้องดูแลอย่างไร?
เมื่อลูกเป็น “โรคภูมิแพ้” พ่อแม่ต้องดูแลอย่างไร?

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ในการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ ซึ่งส่งผลเสียหลายด้าน โดยโรคภูมิแพ้มีหลายชน...
ดูรายละเอียด

เฝ้าระวังโรคไข้เลือดในเด็ก
เฝ้าระวังโรคไข้เลือดในเด็ก

กรมควบคุมโรคเผย ข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี 2566 (1 ม.ค.- 1 มี.ค.66)

ผู้ป่วยจำนวน 6,156 ราย เสียชีวิต 4 ราย...
ดูรายละเอียด

วันมะเร็งโลก
วันมะเร็งโลก

วันมะเร็งโลก กำหนดขึ้นในทุกวันที่ 4 กุมภาพันธุ์ ของทุกปี โดยสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล(UICC) เพื่อให้ทุกคนทั่วโลกร่วมใจกันต่อสู้กับโรคมะเร็ง โ...
ดูรายละเอียด

สังเกตอาการโรคไตเสื่อม
สังเกตอาการโรคไตเสื่อม

พูดถึง โรคไต ใครๆ ก็กลัว เพราะโรคนี้เป็นแล้วรักษายาก ค่ารักษาก็ค่อนข้างสูง ยิ่งถ้าปล่อยไว้จนต้องฟอกไต ชีวิตคุณจะเปลี่ยนไปตลอดกาล

โรคไตเสื่อม คือภาว...
ดูรายละเอียด

โรคตาแดง ไม่รุนแรง แต่รำคาญใจ
โรคตาแดง ไม่รุนแรง แต่รำคาญใจ

แนะนำ ฤดูฝน เป็นฤดูที่พบการระบาดของโรคตาแดงมากกว่าฤดูอื่น ๆ ผู้ป่วยตาแดง ควรงดใช้สายตาในช่วงที่มีอาการ ไม่ควรทำงานดึก พักผ่อนให้เพียงพอ งดใช้สิ่งขอ...

ดูรายละเอียด
5 เทคนิค ฉลองเทศกาลตรุษจีน ‘กินได้ไม่กลัวอ้วน’
5 เทคนิค ฉลองเทศกาลตรุษจีน ‘กินได้ไม่กลัวอ้วน’

เทศกาลตรุษจีน ถือเป็นช่วงเวลาเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ของปี ที่ชาวจีนจะ...
ดูรายละเอียด

ภูมิแพ้ในเด็ก
ภูมิแพ้ในเด็ก

อาการ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล นอนกรน หรือ ผื่นขึ้นตามตัว น้ำตาไหล ขยี้ตาบ่อยๆ ของลูกที่มีอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆมานาน คุณพ่...

ดูรายละเอียด
วิธีตรวจเช็กเต้านมเบื้องต้น ง่ายๆ ด้วยตัวเอง
วิธีตรวจเช็กเต้านมเบื้องต้น ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมควรตรวจเมื่อใด               1.ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  เมื่อ...

ดูรายละเอียด
นิ่วทางเดินปัสสาวะสกัดก่อนลุกลาม
นิ่วทางเดินปัสสาวะสกัดก่อนลุกลาม

 

 

นิ่วทางเดินปัสสาวะสกัดก่อนลุกลาม

     โรคบางอย่างเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และอาการก็ไม่ปรากฏจ...
ดูรายละเอียด

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ เพื่อหาความเสี่ยง และความผิดปกติที่อาจจะนำไปสู่โรคร้ายในอนาคตได้ ...
ดูรายละเอียด

วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด

 

หลังจากที่อุ้มท้องมานานถึง 9 เดือน ผ่านการฝากครรภ์นับตั้งแต่รู้ว่าตัวเองตั้งท้อง เข้ารับการตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน ปฏิบัติตนตามที่คุณหมอแนะ...

ดูรายละเอียด
เบาหวาน โรคใกล้ตัวที่ควรรู้
เบาหวาน โรคใกล้ตัวที่ควรรู้

อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยนั้น มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึง 200 คน / วัน

และมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะแท...
ดูรายละเอียด

โรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม
 โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) อาการเริ่มจากปวดเข่าเป็นๆ หายๆเมื่อได้พักการใช้เข่าอาการปวดก็จะทุเลา และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมากใน...
ดูรายละเอียด
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในแต่ละช่วง
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในแต่ละช่วง
Stage Of Knee Osteoarthritis อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในแต่ละช่วง เริ่มต้นของผู้ที่มีอาการปวดเข่าจะมีอาการปวดบริเวณข้อเข่า ลุกขึ้นจากท่านั่งลำบาก ข้อขั...
ดูรายละเอียด
ติดเชื้อโควิดซ้ำเกิดขึ้นได้ สาเหตุคืออะไร? อันตรายหรือไม่?
ติดเชื้อโควิดซ้ำเกิดขึ้นได้ สาเหตุคืออะไร? อันตรายหรือไม่?

...

ดูรายละเอียด