เบาหวาน โรคใกล้ตัวที่ควรรู้



อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยนั้น มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึง 200 คน / วัน

และมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเฉลี่ย 27 คน / วัน ข้อมูลจาก สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และ วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทอร์เอเชียร์

 

ภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นหลังจากตรวจพบอาการเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน

ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดไม่สมดุล อาจสูงหรือต่ำเกินไป และอาจเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน เป็นอาการที่อันตรายถึงชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง คือ อาการเกิดขึ้นระยะยาว

ส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือดตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

การดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวานโดยทั่วไป

จะเน้นที่การควบคุมอาหาร โดยจำกัดอาหารจำพวก  ข้าว แป้ง น้ำตาลเน้นไปที่การทานผัก  ผลไม้ และควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน สัปปะรด มะม่วง

เพื่อควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งระดับที่เหมาะสมของแต่ละคนนั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ไม่เหมือนกัน

 

สุขภาพตา

เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่มีเส้นเลือดเล็ก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานาน ส่งผลให้ เส้นเลือดทำงานไม่ดี นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีอาการ ไขมันในเลือดสูง และ ความดันโลหิตสูง ทำให้เส้นเลือดตีบง่ายและอาจสูญเสียการมองเห็นถึงขั้นตาบอดได้

การดูแลสุขภาพตา ควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแล แนะนำให้  พบแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

สุขภาพช่องปาก และ ฟัน

ภาวะแทรกซ้อนในช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานเกิดจาก ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ของผู้ป่วยต่ำ และปัญหาสุขภาพช่องปาก เกิดจากแบคทีเรียสะสม กระจายอยู่ทั่วช่องปากและอยู่บริเวณ ขอบเหงือก และ ฟัน ทำให้เป็นโรคเหงืออักเสบ  บางรายร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียฟันได้ นอกจากนี้ยังมีอาการ ปากแห้งเนื่องจากน้ำลายในปากน้อยลง

วิธีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก
ควรแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันให้ถูกต้อง เพื่อกำจัดคราบอาหารนอกเหนือจากเศษอาหาร ที่ติดตามซอกฟัน ป้องกันการเกิดแบคทีเรียภายในช่องปาก อย่างไรก็ตามควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญใน การดูแลสุขภาพช่องฟันอย่างถูกต้อง
 ควรพบทันตแพทย์อย่างน้อยทุก 6 เดือน

 

สุขภาพเท้า

อาการเสื่อมของเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงเท้า จะส่งผลให้ ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการชาที่ปลายเท้า หากเป็นแผล จะหายช้ากว่าปกติ และอาจเกิดภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน ในกรณีรักษาไม่ทันท่วงที อาจทำให้ ต้องสูญเสียนิ้วเท้า หรือ ต้องตัดเท้า

 วิธีการดูแล คือ ผู้ป่วยควรที่จะหมั่นตรวจเช็ค สุขภาพเท้าของตนเองอยู่เสมอ เมื่อมีแผลควรจะรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที  เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อได้ในอนาคต