คลินิกหัวใจ

       ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นก้าวไกลไปกว่าแต่ก่อนมาก จึงมีการผลิตเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ป่วย โดยเฉพาะการตรวจโรคในอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น การตรวจหัวใจ นอกจากจะมีเครื่อง ECHO และเครื่อง EST แล้ว ยังมี Cath lab ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นเราจึงมาทำความรู้จักกับ Cath lab ว่าใช้ในการรักษาเกี่ยวกับโรคหัวใจใดบ้าง และมีการทำงานอย่างไรกัน


Cardiac Catheterization Lab หรือ Cath Lab คืออะไร

       Cath lab เป็นชื่อเรียกง่าย ๆ ของห้องปฏิบัติการตรวจหัวใจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นห้องที่มีประสิทธิภาพในการประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดอื่น ๆ ในร่างกาย โดยจะแสดงผลเป็นภาพปรากฏขึ้นบนหน้าจอ และบันทึกเป็นระบบเทปโทรทัศน์แบบดิจิทัลที่สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทางตามความต้องการ เพื่อตรวจดูซ้ำได้อย่างละเอียดมากขึ้น ส่งผลให้แพทย์สามารถเห็นภาพได้ครบทุกมุมและสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำเพิ่มมากขึ้น


Cath Lab ตรวจอะไรบ้าง

  • ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจ หรือ Cath lab สามารถดูตำแหน่งผิดปกติและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ ดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ และการวัดความดันในห้องหัวใจตำแหน่งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถดูความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ดูการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ หากพบความผิดปกติแพทย์จะทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน การตรึงหลอดเลือดหัวใจด้วยขดลวด การปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจหรือเส้นเลือดเกินโดยวิธีสวนหัวใจ
  • Cath lab สามารถใช้ตรวจวินิจฉัย และรักษาภาวะหลอดเลือดสมองด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคสมองขาดเลือด เป็นต้น โดยจะทำการตรวจรักษาด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง เพื่อดูความผิดปกติตามจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการตรวจที่ให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำกว่าการตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอ็กซเรย์

ควรมาตรวจ Cath Lab เมื่อใด

       เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สาเหตุเกิดจากเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการแน่นหน้าอก หรือเจ็บบริเวณหน้าอกมากกว่า 5 นาที และเหนื่อยง่าย แต่การตรวจ Cath lab จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของคนที่เป็นโรคหัวใจ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตอย่างฉับพลันจากโรคหัวใจนั่นเอง 


วิธีตรวจ Cath Lab

       แพทย์จะเลือกฉีดยาชาบริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ แล้วจะใส่ท่อขนาดเล็กปราศจากเชื้อโรคประมาณ 2 มิลลิเมตรผ่านทางหลอดเลือดแดงเข้าไปจ่ออยู่ที่ทางออกของเลือด จากนั้นจะฉีดสีเพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดหรือไม่ โดยแพทย์จะสามารถดูได้จากหน้าจอภาพแบบดิจิทัลผ่านกล่องเอกซเรย์พิเศษ โดยจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที หากมีความผิดปกติแพทย์จะทำการสวนขดลวดเข้าไปเพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาต่อไป เมื่อเรียบร้อยแล้ว สายสวนจะถูกดึงออกแล้วต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผลห้ามเลือดจุดที่ใส่สายสวนสักระยะหนึ่ง

       โดยการตรวจและการรักษาวิธีนี้จะทำให้คนไข้ฟื้นตัวเร็ว เพราะไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ และมีความเสี่ยงน้อยกว่า สามารถกลับบ้านไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ


การเตรียมตัวก่อนการตรวจสวนหัวใจ

  • ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายให้พร้อม เช่น การตรวจเลือดเอ็กซเรย์ปอดและตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวเข้านอนพักในโรงพยาบาลก่อนหนึ่งวัน และเซนต์ใบยินยอมเพื่อทำการรักษา
  • ผู้ป่วยควรอาบนํ้าทําความสะอาดร่างกายให้พร้อม โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแล้วจะได้รับการทำความสะอาดบริเวณขา ขาหนีบ โดยการโกนขน ซึ่งเป็นบริเวณที่แพทย์จะทำการสวนสายสวนเข้าไป
  • ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้าตรวจประมาณ 6 ชั่วโมง
  • ก่อนทำการตรวจผู้ป่วยต้องถอดเสื้อผ้า รวมถึงเครื่องประดับฝากไว้กับญาติ หรือเจ้าหน้าที่

การปฏิบัติตัวหลังการตรวจสวนหัวใจ 

  • หลังการฉีดสีหัวใจ แพทย์จะแนะนำให้คนไข้นอนนิ่ง ๆ โดยนอนราบแล้วปรับเตียงให้ศีรษะสูง 30-45 องศาได้ หลังจากนั้นจึงจะสามารถเดิน หรือนั่งได้เบา ๆ ห้ามยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนักเกินไปเพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเลือดแต่ผู้ป่วยสามารถพลิกตะแคงตัว และขยับเคลื่อนไหวปลายเท้าปลายนิ้วได้
  • เจ้าหน้าที่จะใช้หมอนทรายกดทับไว้บริเวณแผลขาหนีบเพื่อห้ามเลือดอย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง
  • ถ้าสังเกตพบว่า มีอาการเหนื่อยหอบหายใจ ใจสั่น เจ็บ หรือแน่นหน้าอก มึนงงวิงเวียนศีรษะ มีเลือดออกมากบริเวณแผลขาหนีบ หรือข้อมือ มีผื่นขึ้นตามตัวและเท้า มือเย็น ปวดชาปลายเท้า หรือมือ ควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที         
  • ผู้ป่วยควรดูแลแผลไม่ให้แผลถูกนํ้า หากแผลแห้งดีผู้ป่วยสามารถอาบนํ้าได้ตามปกติ แต่ถ้าแผลไม่แห้งให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์แล้วใช้พาสเตอร์ปิดแผล
  • กรณีผู้ป่วยไม่ได้จํากัดนํ้าหลังตรวจเสร็จผู้ป่วยควรดื่มนํ้ามาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2000 ซีซี ต่อวันเพื่อให้ไตขับสารทึบแสงออกทางการขับถ่ายปัสสาวะ
  • ควรงดเช่นการดื่มสุรา ชา กาแฟ โอเลี้ยง นํ้าอัดลม และงดการสูบบุหรี่
  • ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด เพราะจะเป็นการเพิ่มการทํางานของหัวใจให้ทำงานหนักมากขึ้น

       การตรวจ Cath lab เป็นการตรวจสวนหัวใจที่มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจแล้วใช้ยารักษาไม่หาย หรือใช้วิธีอื่นรักษาแล้วไม่หายแพทย์จะพิจารณาให้ตรวจด้วยวิธีนี้เพื่อวางแผนในการรักษาที่แม่นยำขึ้นต่อไป


 

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ Heart Screening
0

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Angiogram Packages
0

บาท

ดูรายละเอียด

บทความสุขภาพ

เจ็บแน่นหน้าอก เป็นโรคหัวใจ หรือ แค่กรดไหลย้อน
เจ็บแน่นหน้าอก เป็นโรคหัวใจ หรือ แค่กรดไหลย้อน

       การเจ็บแน่นหน้าอกเป็นอาการที่หลายคนเคยเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นจากการออกกำลังกายหนักๆ หรือเกิดขึ้นเฉยๆ ในระหว่างวัน แต่คำถามที่หลายคนกังว...
ดูรายละเอียด

เช็กอาการเตือน โรคมะเร็งหัวใจ ที่ควรพบแพทย์
เช็กอาการเตือน โรคมะเร็งหัวใจ ที่ควรพบแพทย์

     มะเร็งหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ผนังหลอดเลือด (Angiosarcoma) ส่วนที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจเรียกว่า Rhabdomyosarcoma ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบ...
ดูรายละเอียด

เพราะหัวใจต้องการ
เพราะหัวใจต้องการ "การดูแล" รวมอาหารบำรุงหัวใจ

หลอดเลือดหัวใจมีหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจให้ทำหน้าที่เป็นปกติ เพราะฉะนั้นหากเกิดความผิดปกติกับหลอดเลือดหัวใจ ไม่ว่าจะตีบ แตก หรือตัน ย่อมส่งผลให้หัวใจขาดเล...
ดูรายละเอียด

เจ็บป่วยฉุกเฉินใช้สิทธิ UCEP รักษาฟรี 72 ชั่วโมง
เจ็บป่วยฉุกเฉินใช้สิทธิ UCEP รักษาฟรี 72 ชั่วโมง

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ทุกวินาทีมีค่า การรู้ว่าคุณสามารถรับการดูแลได้ทันทีโดยไม่ต้องห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย จะช่วยให้คุณอุ่นใจมากขึ้น ระบบ UCEP (Universal Coverag...
ดูรายละเอียด

Cath Lab คืออะไร ?
Cath Lab คืออะไร ?
Cath Lab ทางเลือกการรักษา " โรคหัวใจ " โดยไม่ต้องผ่าตัด

“โรคหัวใจ” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาแ...
ดูรายละเอียด

ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง หรือที่เรียกกันว่าโรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่แรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือดแดงสูงพอที่...
ดูรายละเอียด
โรคหัวใจ...กับการตรวจสุขภาพที่ต้องใส่ใจ
โรคหัวใจ...กับการตรวจสุขภาพที่ต้องใส่ใจ

    โรคหัวใจ ถือเป็นโรคที่มีขอบเขตการเจ็บป่วยที่กว้าง โดยมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของพยาธิสภาพภายในหัวใจ และหลอดเลือดจึงท...
ดูรายละเอียด

โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต
โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต

อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ Cerebrovascular accident (CVA) เป็นอาการหนึ่งของโรคหลอดเลือดในสมอง หรือ Stroke เกิดจากการที่เซลล์สมองขาดเลื...
ดูรายละเอียด

กินคลีน เพิ่มความแข็งแรงหลอดเลือดหัวใจ
กินคลีน เพิ่มความแข็งแรงหลอดเลือดหัวใจ
5 คุณประโยชน์ของการกินคลีน เพิ่มความแข็งแรงหลอดเลือดหัวใจ

เพราะอาหารคลีนคืออาหารที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ผ่านการแปรรูปน้อย ปรุงแต่งด้วยน้ำต...
ดูรายละเอียด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรือมีไขมันเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอด...
ดูรายละเอียด

ภาวะหลอดเลือดแข็ง ตรวจพบไวป้องกันรักษาได้ทัน
ภาวะหลอดเลือดแข็ง ตรวจพบไวป้องกันรักษาได้ทัน

รู้จักภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดชั้นในห...
ดูรายละเอียด

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG คืออะไร
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG คืออะไร

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG หรือ (Electrocardiogram) คือการตรวจความสมบูรณ์ของการทำงานไฟฟ้าหัวใจ เพื่อตรวจหาความผิดปกติ ที่อาจจะเกิดขึ้น หรือได้เ...
ดูรายละเอียด

โรคหัวใจ กับการตรวจสุขภาพที่ต้องใส่ใจ !!!
โรคหัวใจ กับการตรวจสุขภาพที่ต้องใส่ใจ !!!
    โรคหัวใจ ถือเป็นโรคที่มีขอบเขตการเจ็บป่วยที่กว้าง โดยมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของพยาธิสภาพภายในหัวใจและหลอดเลือดจึงทำให้มีความหลากหลายของโรค และ...
ดูรายละเอียด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ดีที่สุด คือ การมาตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี และหากมีอาการผิดปกติ ควรรีบมาปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจ

...

ดูรายละเอียด