อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ Cerebrovascular accident (CVA) เป็นอาการหนึ่งของโรคหลอดเลือดในสมอง หรือ Stroke เกิดจากการที่เซลล์สมองขาดเลือด หรือเลือดไปเลี้ยงได้น้อยลงจากหลอดเลือดแดงที่ตีบ อุดตัน หรือแตกส่งผลให้เนื้อสมองถูกทำลาย ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นจะมีอาการมากหรือน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับตำแหน่งและบริเวณของสมองที่ขาดเลือดไปเลี้ยง
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- สมองขาดเลือด ซึ่งพบประมาณ 70-80% ของผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรืออุดตัน
- หลอดเลือดสมองแตก เมื่อเกิดการแตกของหลอดเลือดสมอง ก้อนเลือดจะเบียดดันเนื้อสมองส่วนที่ดี ทำให้เสียหน้าที่เซลล์สมองทำงานผิดปกติ เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตตามมา ภาวะนี้มักสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานาน
อาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- มีอาการอ่อนแรง ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง
- ใบหน้าเบี้ยว
- อาการชา หรือสูญเสียความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้ พูดติดขัด เสียงไม่ชัด หรือไม่เข้าใจคำพูด
- มีปัญหาการทรงตัว เช่น เดินเซ หรือมีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน
- สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อน
ปัจจัยเสี่ยงของอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
5 สัญญาณเตือน ที่ต้องรีบไปพบแพทย์
1.ชา หรืออ่อนแรงที่หน้า แขน หรือขา ซีกใดซีกหนึ่ง อย่างทันทีทันใด
2.พูดลำบาก พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด หรือไม่เข้าใจคำพูด อย่างทันทีทันใด
3.มีปัญหาการมองเห็น ตามัว หรือเห็นภาพซ้อนของตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง อย่างทันทีทันใด
4.มีอาการมึนงง เวียนศีรษะ เดินไม่ได้ เดินลำบาก เดินเซ หรือสูญเสียการทรงตัวในการยืนและเดิน อย่างทันทีทันใด
5.ปวดศีรษะอย่างรุนแรงอย่างทันทีทันใด โดยไม่ทราบสาเหตุ
การรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มีวิธีการอย่างไร?
การรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและโรคต้นเหตุของผู้ป่วย เช่น
1.ผ่าตัดสมอง เมื่อเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก
2.ใส่สารอุดตันเข้าหลอดเลือด เมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
3.ให้ยาละลายลิ่มเลือด เมื่อเกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน
4.ให้ยาลดการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด
5.ควบคุมโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ เช่น รักษาควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง
6.การทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อแขน/ขา หรือการฝึกพูด
การป้องกันอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง)
1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2.รักษาน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
3.ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.งดดื่มสุรา
5.งดและเลิกสูบบุหรี่
6.บริโภคอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม
7.ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ
8.หากเป็นผู้ป่วยโรคที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหลอดสมอง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคอ้วน เป็นต้น ต้องรับประทานยาและพบหมอตามนัด
9.เรียนรู้สัญญาณเตือนของการเกิดอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง)
10.หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด