วิธีตรวจเช็กเต้านมเบื้องต้น ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมควรตรวจเมื่อใด

  •               1.ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  เมื่ออายุ 20 ปี ขึ้นไป
  •               2.ตรวจเต้านมโดยแพทย์ เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจทุก 3 ปี และหลังจากอายุ 40 ปี ควรได้รับการตรวจทุก 1 ปี
  •               3.ควรทำแมมโมแกรม และ/หรือ อัลตราซาวน์ ในช่วงอายุ 35- 40 ปี 1 ครั้ง  หลังจากอายุ 40 ปี เป็นต้นไป ควรทำทุก 1 – 2 ปี
  •               4.ในผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ควรเริ่มทำการตรวจตั้งแต่อายุที่ญาติเป็น ลบออก 5 ปี
  •               5.ในรายที่มีความเสี่ยงสูง หรือเต้านมมีความหนาแน่นมาก การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะช่วยให้มีการค้นพบมะเร็งได้มากขึ้นกว่าการทำแมมโมแกรม การตัดสินใจว่าจะตรวจหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

ตรวจเต้านมด้วยตนเองง่ายๆ

  •               1.ยืนหน้ากระจก แล้วดูที่เต้านมทั้ง 2 ข้าง แล้วสังเกตว่า ขนาด รูปร่าง สีผิว ตำแหน่งของเต้านม หัวนม เป็นอย่างไร และควรเทียบการเปลี่ยนแปลงกับเดือนก่อน
  •               2.หลังจากนั้นให้ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะทั้ง 2 ข้าง แล้วดูที่เต้านมอีกครั้ง ค่อยๆหมุนตัวช้าๆเพื่อที่จะดูบริเวณด้านข้างของเต้านม
  •               3.มือเท้าเอว และโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ดูความเปลี่ยนแปลงซ้ำอีกครั้ง
  •               4.ใช้นิ้วมือบีบที่หัวนมเบาๆ ดูว่ามีเลือด หนอง หรือน้ำไหลออกจากหัวนมหรือไม่
  •               5.เริ่มคลำเต้านม ให้คลำตั้งแต่กระดูกไหปลาร้าลงมา ใช้มือซ้ายคลำเต้านมข้างขวา ให้ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางทั้ง 3 นิ้ว ค่อยๆกดลงบนผิวหนังเบาๆ และกดแรงขึ้น จนกระทั่งสัมผัสกระดูกซี่โครงคลำเต้านมให้ทั่วทิศทาง การคลำทำได้หลายแบบ สิ่งที่สำคัญคือต้องคลำให้ทั่วเต้านมไปจนถึงบริเวณรักแร้ใต้วงแขน หลังจากนั้นให้เปลี่ยนคลำอีกข้างแบบเดียวกัน
  •               6.เมื่อเสร็จการคลำในท่ายืนแล้ว  ให้เปลี่ยนเป็นคลำในท่านอนใช้หมอนหนุนไหล่ข้างที่จะคลำ แล้วคลำซ้ำเหมือนท่ายืน

เจอแบบนี้ให้รีบมาพบแพทย์

  •           - ก้อนเนื้อเต้านมหนากว่าปกติ Lump or thickening (breast, underarm)
  •           - ผิวหนังแดง หรือร้อน
  •           - รูขุมขนใหญ่ขึ้นเหมือนผิวส้ม
  •           - ผิวหนังบุ๋ม  หรือมีการหดรั้ง
  •           - มีการนูนของผิว
  •           - ปวดกว่าปกติที่เคย
  •           - คัน มีผื่น โดยเฉพาะบริเวณหัวนม และฐานรอบหัวนม
  •           - หัวนมบุ๋ม
  •           - การชี้ของหัวนมเปลี่ยนทิศทาง
  •           - เลือดไหลออกจากหัวนม
  •           - มีแผลที่หายยากของเต้านม หัวนม

 

 

 

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

บทความสุขภาพ

NIPT คืออะไรแล้วทำไมถึงควรตรวจ  ???
NIPT คืออะไรแล้วทำไมถึงควรตรวจ ???

การตรวจ NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing

     คือการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์มารดา มีความแม่นยำสูง โดยกา...
ดูรายละเอียด

วิธีตรวจเช็กเต้านมเบื้องต้น ง่ายๆ ด้วยตัวเอง
วิธีตรวจเช็กเต้านมเบื้องต้น ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมควรตรวจเมื่อใด               1.ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  เมื่อ...

ดูรายละเอียด
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด

 

หลังจากที่อุ้มท้องมานานถึง 9 เดือน ผ่านการฝากครรภ์นับตั้งแต่รู้ว่าตัวเองตั้งท้อง เข้ารับการตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน ปฏิบัติตนตามที่คุณหมอแนะ...

ดูรายละเอียด