การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ให้แก่ร่างกาย ซึ่งที่ผ่านมาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์สามารถครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A/H1N1 และ A/H3N2 และป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B ได้ 1 ตระกูล การเพิ่มไวรัสสายพันธุ์ B ในวัคซีนอีก 1 ตระกูล ก็จะสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
นับตั้งแต่มีการแยกเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1993 ก็มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งล่าสุดในปี ค.ศ. 2012 องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้แนะนำให้เพิ่มไวรัสสายพันธุ์ B เข้าในวัคซีนอีกหนึ่งสายพันธุ์ เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นคือ Quadrivalent Influenza Vaccine ซึ่งครอบคลุมไวรัส 4 สายพันธุ์ดังต่อไปนี้
- 1. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1
- 2. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/ H3N2
- 3. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria
- 4. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ครอบคลุมมากขึ้นจากเดิม
ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี ?
แนะนำให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ก่อนฤดูที่มีการระบาด (ฤดูฝน และ ฤดูหนาว) และฉีดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่จะลดต่ำลงได้ในระยะเวลาไม่นาน การฉีดวัคซีนทุกปีจึงเป็นการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูง ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในแต่ละปี
วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์แนะนำให้ฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือน จนถึงผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรก็สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์มีประโยชน์อย่างไร?
- 1.นอกเหนือจากการปกป้องร่างกายจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้ง 4 สายพันธุ์ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังมีประโยชน์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- 2.สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B ครอบคลุมสายพันธุ์มากขึ้นกว่าเดิม
- 3.ลดอัตราการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่
- 4.ลดปัญหาจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้ป่วยเรื้อรัง
- 5.ลดการใช้ยาปฎิชีวนะ จากภาวะแทรกซ้อนในการติดเชื้อแบคทีเรีย
- 6.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา
- 7.ลดการขาดงานหรือขาดเรียน
- 8.ลดอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
- 9.ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และควรได้รับการป้องกันด้วยวัคซีน
- 1.เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
- 2.ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
- 3.หญิงตั้งครรภ์ และ ผู้หญิงที่อยู่ในระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด
- 4.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง เช่น เบาหวาน หัวใจ ปอด ความผิดของตับไต