มะเร็งชนิดเดียวที่มีวัคซีนป้องกัน

       การฉีดวัคซีน HPV ไม่เพียงช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ยังลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสของอีกหลายโรคด้วย เช่น หูดหงอนไก่ หรือมะเร็งทวารหนัก โดยการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกที่เราคุ้นหูกันดีก็จะเป็นการฉีดวัคซีน HPV นั่นเอง แต่รู้มั้ยว่าการฉีดวัคซีน HPV นั้น นอกจากช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัส HPV ที่สามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้อีกหลายโรค และที่สำคัญ!  วัคซีน HPV ไม่ได้จำเป็นแค่กับผู้หญิง แต่ผู้ชายก็ควรได้รับวัคซีนนี้ด้วยเหมือนกัน



ทำความเข้าใจ เชื้อไวรัส HPV คืออะไร

       HPV หรือ Human papilloma virus เป็นเชื้อไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน สามารถแพร่กระจายได้จากการสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์ โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้นั้น ที่พบบ่อยคือสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึง70% ในขณะที่สายพันธุ์ 6 และ 11 คือสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศ สามารถพบได้มากถึง 90%


เชื้อไวรัส HPV ไม่ได้เสี่ยงแค่มะเร็งปากมดลูก

       สำหรับเชื้อไวรัส HPV นั้น ไม่เพียงก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก แต่ยังสามารถทำให้เกิดโรคอื่นๆ ได้ ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ดังนี้

  • ผู้หญิง ก่อให้เกิด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งทวารหนัก หูดที่อวัยวะเพศ
  • ผู้ชาย ก่อให้เกิด มะเร็งองคชาต มะเร็งช่องปากและหลอดคอ มะเร็งทวารหนัก หูดที่อวัยวะเพศ

เช็คหน่อย...คุณมีสัญญาณเตือนว่าติดเชื้อไวรัส HPV อยู่หรือเปล่า

  • มีหูดขึ้น (พบได้บ่อย) มีทั้งลักษณะที่เป็นตุ่มนูน ตุ่มเรียบแบน หรือตุ่มสีชมพู โดยอาจเกิดขึ้นบริเวณช่องคลอด ปากมดลูก อัณฑะ ทวารหนัก ขาหนีบ หรือขาอ่อน
  • มีอาการคันหรือแสบร้อนบริเวณที่ติดเชื้อ
  • มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ปริมาณมากกว่าปกติ
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • ท่อทางเดินปัสสาวะอุดตัน (เนื่องจากก้อนมีขนาดโตมาก ซึ่งพบได้น้อย)

รู้ก่อนฉีด! วัคซีน HPV 2 ชนิด แตกต่างกันอย่างไร
เพราะเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกและหูดที่อวัยวะเพศเป็นเชื้อ HPV คนละสายพันธุ์ ปัจจุบันจึงได้มีการแบ่งวัคซีน HPV ออกเป็น 2 ชนิด คือ...

  • Cervarix ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่เกิดจากสายพันธุ์ 16 และ 18
  • Gadasil ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่เกิดจากสายพันธุ์ 16 และ 18 และป้องกันหูดที่อวัยวะเพศที่เกิดจาก สายพันธุ์ 6 และ 11

เลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อ HPV

  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อโรค แม้ว่าการฉีดวัคซีน HPV จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่หากฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ หรือในเด็กช่วงอายุ 9-26 ปี ก็จะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้มากถึง 90% ช่วยลดโอกาสเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กผู้หญิง โรคหูดหงอนไก่ รวมทั้งมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้อีกด้วย

 

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

ตรวจอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ ( Ultrasound 4D )
2,650

บาท

ดูรายละเอียด
ตรวจสุขภาพประจำปี ( Annual Check-up )
1,690

บาท

ดูรายละเอียด

บทความสุขภาพ

ถ้าคุณแม่ ไม่ฝากครรภ์ มีผลเสียต่อลูกจริงมั้ย
ถ้าคุณแม่ ไม่ฝากครรภ์ มีผลเสียต่อลูกจริงมั้ย

การฝากครรภ์ (Antenatal Care) คือ การดูแลสุขภาพครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอด ทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งจะเป็นการดูแลแบบครอบคลุม ทั้งด้า...
ดูรายละเอียด

ปวดแบบไหนเสี่ยงมะเร็งลำไส้
ปวดแบบไหนเสี่ยงมะเร็งลำไส้

อาการท้องผูก หรือท้องเสียหลายท่านอาจคิดว่าเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป เเต่ทราบหรือไม่ว่าอาการท้องผูกหรือท้...
ดูรายละเอียด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดได้ทุกวัย ทำไมต้องฉีดทุกปี?
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดได้ทุกวัย ทำไมต้องฉีดทุกปี?

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ซึ่งมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ A , B และ C สายพันธุ์ A และ B เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคระบบท...

ดูรายละเอียด
NIPT คืออะไรแล้วทำไมถึงควรตรวจ  ???
NIPT คืออะไรแล้วทำไมถึงควรตรวจ ???

การตรวจ NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing

     คือการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์มารดา มีความแม่นยำสูง โดยกา...
ดูรายละเอียด

วิธีรับมือ...โรคภูมิแพ้
วิธีรับมือ...โรคภูมิแพ้

วิธีรับมือ โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้มีทั้งชนิดที่รักษาให้หายขาดได้ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ กับชนิดที่รักษาให้อาการลดลงได้ แต่ย...
ดูรายละเอียด

ไข้หวัดใหญ่...อันตรายกว่าที่คิด
ไข้หวัดใหญ่...อันตรายกว่าที่คิด

     อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้มีอาการป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่าย และมักเกิดขึ้นบ่อยๆ โรคไข้หวัดใหญ่ก็เ...
ดูรายละเอียด

สังเกตอาการโรคไตเสื่อม
สังเกตอาการโรคไตเสื่อม

พูดถึง โรคไต ใครๆ ก็กลัว เพราะโรคนี้เป็นแล้วรักษายาก ค่ารักษาก็ค่อนข้างสูง ยิ่งถ้าปล่อยไว้จนต้องฟอกไต ชีวิตคุณจะเปลี่ยนไปตลอดกาล

โรคไตเสื่อม คือภาว...
ดูรายละเอียด

โรคตาแดง ไม่รุนแรง แต่รำคาญใจ
โรคตาแดง ไม่รุนแรง แต่รำคาญใจ

แนะนำ ฤดูฝน เป็นฤดูที่พบการระบาดของโรคตาแดงมากกว่าฤดูอื่น ๆ ผู้ป่วยตาแดง ควรงดใช้สายตาในช่วงที่มีอาการ ไม่ควรทำงานดึก พักผ่อนให้เพียงพอ งดใช้สิ่งขอ...

ดูรายละเอียด
5 เทคนิค ฉลองเทศกาลตรุษจีน ‘กินได้ไม่กลัวอ้วน’
5 เทคนิค ฉลองเทศกาลตรุษจีน ‘กินได้ไม่กลัวอ้วน’

เทศกาลตรุษจีน ถือเป็นช่วงเวลาเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ของปี ที่ชาวจีนจะ...
ดูรายละเอียด

วิธีตรวจเช็กเต้านมเบื้องต้น ง่ายๆ ด้วยตัวเอง
วิธีตรวจเช็กเต้านมเบื้องต้น ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมควรตรวจเมื่อใด               1.ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  เมื่อ...

ดูรายละเอียด
นิ่วทางเดินปัสสาวะสกัดก่อนลุกลาม
นิ่วทางเดินปัสสาวะสกัดก่อนลุกลาม

 

 

นิ่วทางเดินปัสสาวะสกัดก่อนลุกลาม

     โรคบางอย่างเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และอาการก็ไม่ปรากฏจ...
ดูรายละเอียด

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ เพื่อหาความเสี่ยง และความผิดปกติที่อาจจะนำไปสู่โรคร้ายในอนาคตได้ ...
ดูรายละเอียด

วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด
วิธีดูแลสุขภาพหลังคลอด

 

หลังจากที่อุ้มท้องมานานถึง 9 เดือน ผ่านการฝากครรภ์นับตั้งแต่รู้ว่าตัวเองตั้งท้อง เข้ารับการตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน ปฏิบัติตนตามที่คุณหมอแนะ...

ดูรายละเอียด
เบาหวาน โรคใกล้ตัวที่ควรรู้
เบาหวาน โรคใกล้ตัวที่ควรรู้

อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยนั้น มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึง 200 คน / วัน

และมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะแท...
ดูรายละเอียด

ติดเชื้อโควิดซ้ำเกิดขึ้นได้ สาเหตุคืออะไร? อันตรายหรือไม่?
ติดเชื้อโควิดซ้ำเกิดขึ้นได้ สาเหตุคืออะไร? อันตรายหรือไม่?

...

ดูรายละเอียด