วัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำเป็นแค่ไหน ทำไมต้องฉีดทุกปี

       เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่เรื่อยๆ ในการผลิตวัคซีนแต่ละปี จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามเชื้อไวรัสด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันร่างกายจากไข้หวัดใหญ่ เราจึงควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
ส่วนใครที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้ว ต้องเว้นระยะก่อนฉีด 1 เดือน

       ในประเทศไทย พบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ได้ทั้งปี แต่จะพบมากขึ้นในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนทุกปีเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยสามารถฉีดซ้ำได้ภายใน 6 เดือน ถึง 1 ปี



อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

       หลังจากได้รับเชื้อ จะมีระยะฟักตัว 1-4 วัน จากนั้นจะเกิดอาการของระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง มักมีอาการสำคัญที่เด่นชัด เช่น

  1. มีไข้สูง
  2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก
  3. มีน้ำมูก และไอ

       สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในปี 2564 ในประเทศไทย สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่เมื่อปี 2564 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 27ตุลาคม 2564 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศถึง 9,314 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 14.05 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน และในกลุ่มจะพบผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันมากถึงร้อยละ 48 ที่อาจจะพบปอดบวม หรือสภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต โดยเฉพาะในคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่อยู่แล้ว เช่น ผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพบางอย่าง และผู้สูงอายุ


ผลกระทบต่อร่างกายเมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

  1. เซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจถูกทำลาย สามารถติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ อาจทำให้หูชั้นกลางอักเสบหรือปอดบวม
  2. หลอดเลือดอักเสบมากขึ้น เพิ่มโอกาสไขมันในเส้นเลือดแตกไปอุดตันเส้นเลือด จึงเพิ่มความเสี่ยงการกำเริบของหัวใจและหลอดเลือด
  3. เกิดการอักเสบของหลอดลม ทำให้โรคปอด โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพองกำเริบจนมีอาการรุนแรงมากขึ้น
  4. เกิดความผิดปกติของระบบเผาผลาญ คนเป็นโรคเบาหวานจะมีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้อาการของเบาหวานรุนแรงขึ้น
  5. ภาวะไข้สูง ร่างกายเกิดการเสียน้ำ ส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติ

ใครบ้าง? ที่ควรฉีดวัคซีนป้องกัน

เพราะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง อาจเกิดอาการรุนแรงหรือได้รับผลแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้สูง รวมถึงผู้ดูแลใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ดังนั้น ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จึงได้แก่

  1. เด็กเล็กตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
  2. ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
  3. ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย โรคตับ มะเร็ง เบาหวาน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  4. ผู้ที่มี BMI มากกว่า 35 หรือน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม
  5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  6. หญิงมีครรภ์ ที่อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
  7. บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ
  8. ผู้ที่กำลังจะเดินทางไปต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน และในประเทศที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่

ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  1. ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ 70 ถึง 90%
  2. ลดการติดเชื้อในหูชั้นกลางในเด็กได้ 36%
  3. ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี ได้ 60%
  4. ลดอัตราการตายจากโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี ได้ 70 ถึง 80%

ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยเบาหวาน

  1. ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ 79%
  2. ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 56%
  3. ลดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ 28%

ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยโรคหัวใจ

  1. ลดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ 75%
  2. ลดการเกิดภาวะของหัวใจและหลอดเลือดได้ 30%
  3. ลดการเกิดภาวะหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้ 24%

 

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

โปรแกรมสุขภาพดี ส่งท้ายปี
896

บาท

ดูรายละเอียด
ตรวจสุขภาพประจำปี ( Annual Check-up )
1,690

บาท

ดูรายละเอียด

บทความสุขภาพ

แชร์ทริคเลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่ใช่ สำหรับทุกช่วงวัย
แชร์ทริคเลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่ใช่ สำหรับทุกช่วงวัย

        การตรวจสุขภาพ หลายๆคนอาจเข้าใจว่าต้องตรวจสุขภาพเมื่อมีความเสี่ยง หรือต้องตรวจสุขภาพในช่วงวัยผู้สูงอายุเท่านั้น แต่จริงๆ...
ดูรายละเอียด

ดูเเลลูกน้อยอย่างไร ? หลังฉีดวัคซีน
ดูเเลลูกน้อยอย่างไร ? หลังฉีดวัคซีน

หลังฉีดวัคซีนควรพักรอประมาณ 30 นาที เพื่อสังเกตุอาการแพ้แบบรุนแรง (Anaphylaxis)ได้แก่ ปากบวม ผื่น หายใจลำบาก ช็อก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนภายในเวล...
ดูรายละเอียด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดได้ทุกวัย ทำไมต้องฉีดทุกปี?
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดได้ทุกวัย ทำไมต้องฉีดทุกปี?

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ซึ่งมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ A , B และ C สายพันธุ์ A และ B เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคระบบท...

ดูรายละเอียด
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็ก
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็ก
สาเหตุของการเกิดปอดอักเสบในเด็ก มักเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเราสามารถป้องกันการติดเชื้อบางชนิดได้ โดยการให้วัคซีนป้องกันการเกิดปอดอักเสบ การหายใจและปอดของเด็กแตก...
ดูรายละเอียด
เมื่อลูกเป็น “โรคภูมิแพ้” พ่อแม่ต้องดูแลอย่างไร?
เมื่อลูกเป็น “โรคภูมิแพ้” พ่อแม่ต้องดูแลอย่างไร?

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ในการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ ซึ่งส่งผลเสียหลายด้าน โดยโรคภูมิแพ้มีหลายชน...
ดูรายละเอียด

เฝ้าระวังโรคไข้เลือดในเด็ก
เฝ้าระวังโรคไข้เลือดในเด็ก

กรมควบคุมโรคเผย ข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี 2566 (1 ม.ค.- 1 มี.ค.66)

ผู้ป่วยจำนวน 6,156 ราย เสียชีวิต 4 ราย...
ดูรายละเอียด

โรคตาแดง ไม่รุนแรง แต่รำคาญใจ
โรคตาแดง ไม่รุนแรง แต่รำคาญใจ

แนะนำ ฤดูฝน เป็นฤดูที่พบการระบาดของโรคตาแดงมากกว่าฤดูอื่น ๆ ผู้ป่วยตาแดง ควรงดใช้สายตาในช่วงที่มีอาการ ไม่ควรทำงานดึก พักผ่อนให้เพียงพอ งดใช้สิ่งขอ...

ดูรายละเอียด
5 เทคนิค ฉลองเทศกาลตรุษจีน ‘กินได้ไม่กลัวอ้วน’
5 เทคนิค ฉลองเทศกาลตรุษจีน ‘กินได้ไม่กลัวอ้วน’

เทศกาลตรุษจีน ถือเป็นช่วงเวลาเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ของปี ที่ชาวจีนจะ...
ดูรายละเอียด

ภูมิแพ้ในเด็ก
ภูมิแพ้ในเด็ก

อาการ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล นอนกรน หรือ ผื่นขึ้นตามตัว น้ำตาไหล ขยี้ตาบ่อยๆ ของลูกที่มีอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆมานาน คุณพ่...

ดูรายละเอียด
นิ่วทางเดินปัสสาวะสกัดก่อนลุกลาม
นิ่วทางเดินปัสสาวะสกัดก่อนลุกลาม

 

 

นิ่วทางเดินปัสสาวะสกัดก่อนลุกลาม

     โรคบางอย่างเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และอาการก็ไม่ปรากฏจ...
ดูรายละเอียด

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ เพื่อหาความเสี่ยง และความผิดปกติที่อาจจะนำไปสู่โรคร้ายในอนาคตได้ ...
ดูรายละเอียด

ติดเชื้อโควิดซ้ำเกิดขึ้นได้ สาเหตุคืออะไร? อันตรายหรือไม่?
ติดเชื้อโควิดซ้ำเกิดขึ้นได้ สาเหตุคืออะไร? อันตรายหรือไม่?

...

ดูรายละเอียด