การติดเชื้อโควิด-19 เป็นการติดเชื้อที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ โดยระดับความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ไม่แสดงอาการ แสดงอาการ และแสดงอาการรุนแรง ส่งผลให้เกิดความอันตรายถึงชีวิต เมื่อรักษาหายแล้ว จะเกิดพังผืด สร้างรอยแผลเป็นในปอด ทำให้สมรรถภาพปอดลดลง รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด จนไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่
- มีปริมาณของเชื้ออยู่ในปอดจำนวนมากหรือมีการติดเชื้อชนิดอื่น
- สุขภาพ และภูมิคุ้มกันแต่ละคนแตกต่างกัน
- ระยะเวลาในการรักษา
ช่วงที่ 1 เป็นช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังหายจากโรค ยังพบฝ้าขาวที่ปอดในฟิล์มเอกซเรย์ แต่มีปริมาณเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงที่ติดเชื้อ
ช่วงที่ 2 ช่วงสัปดาห์ที่ 3 - 4 หลังจากที่หายจากโรค ร่างกายมีการฟื้นฟูกลับมาบ้างแล้ว แต่จะยังรู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่แข็งแรง ไม่กะปรี้กะเปร่า
อาจเริ่มจากการออกกำลังกายเบา ๆ ลุกเดินบ่อย ๆ ไม่อยู่เฉย พยายามเคลื่อนไหวขา เพื่อทำให้เลือดเกิดการไหลเวียน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด โดยไม่หักโหมจนเกินไป เช่น ยืดงอขา หรือยืดเหยียดปลายเท้า เป็นต้น
ควบคุมลมที่หายใจออกมาทางปากช้า ๆ จนกระทั่งลมหมดปอด แล้วหายใจเข้าใหม่ให้ลมเต็มปอดแล้วค่อย ๆ หายใจออกช้า ๆ เป็นการทำให้พังผืดที่ปอดมีการขยับทำให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และปอดจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมา
หากมีอาการเหนื่อย หายใจเร็ว แน่นหน้าอก ปวดหัวเวียนหัว ใจสั่น ตามัว เหงื่อออกมาก หรือมีอาการซีดเขียว ควรหยุดออกกำลังกายทันที ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวดังที่กล่าวมาข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
นอกจากการฟื้นฟู การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ก็เป็นเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการป่วยหนักและอัตราการเสียชีวิต ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ก็ควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และรักษาระยะห่างทางสังคม เหมือนเดิม ผู้ที่อยู่ในสถานที่ ๆ มีความเสี่ยง หรือประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง เช่น อยู่ในสถานที่ปิดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก หากจะสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันสารคัดหลั่งสัมผัสเข้าร่างกายและลดอัตราการติดเชื้อได้อีกด้วย